ประวัติ :: คุณหมอสุรพรรณ ศิริธรรมวานิช | Suraphan Sirithamwanich |
คุณหมอสุรพรรณ ศิริธรรมวานิช ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณทิตกิตติมศักดิ์ บ.ภ., บ.ว.(คท.) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา / ผู้ทรงคุณวุฒิสมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย และอาจารย์อาจารย์พิเศษการแพทย์แผนไทยคณะเภสัชศาสตร์ ภาควินิจฉัย มหาวิทยาลัยมหิดล รวมไปถึงมีงานเขียนหนังสือด้านการแพทย์แผนไทย จำนวน 4 เล่ม คือ ปรัชญาการแพทย์ตะวันออก โหราศาสตร์ในวิชาการแพทย์แผนไทย ปราณจักระ ไทเก๊ก แมะยืดชีวิตจับชีพจร และนวด พลังจักรวาลชุบกายสลายโลก
กว่าจะมาเป็นกูรูในเรื่องการแพทย์แผนไทยและสอบผ่านใบประกอบโรคศิลป์แผน โบราณ สาขา เภสัชกรรม และ สาขาเวชกรรมนั้น คุณหมอสุรพรรณก็ได้ศึกษาหาความรู้มาไม่น้อย ทั้งจากพระอาจารย์ และพระธุดงค์ หลายๆ ท่านที่มีความรู้ในศาสตร์ด้านนี้ ไม่เพียงแต่เรียนรู้ทฤษฏีเท่านั้น คุณหมอสุรพรรณยังได้ออกท่องป่าเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ด้านสมุนไพรกับเป็น เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี จากการสั่งสมความรู้และประสบการณ์ทำให้คุณหมอสุรพรรณมีทักษะในการดมกลิ่น ชิมรสตัวยา และรู้จักสรรพคุณของตัวยา ตลอดจนแหล่งกำเนิดและคุณสมบัติของยาได้เป็นอย่างดี
คุณหมอสุรพรรณ กล่าวว่า ตำรับยาที่คิดค้นเพื่อใช้ในการรักษานั้น จะไม่ส่งผลเสียต่ออวัยวะในร่างกาย แต่กลับจะช่วยปรับโครงสร้างในร่างกายให้แข็งแรงขึ้น โดยการรักษานั้นจะไม่มีการใช้สมุนไพรเดี่ยวมาใช้ เพราะการใช้สมุนไพรเดี่ยวติดต่อกันเป็นระยะเวลานานก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย นี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ต้องช่วยกันแก้ไขความเข้าใจในการใช้ยาสมุนไพรของ ผู้บริโภคในปัจจุบันที่ยังคงมีความเข้าใจผิดในการบริโภค บ้างก็เป็นไปตามกระแสความนิยม ยาตัวนั้นดี ตัวนี้ดี แต่แท้จริงแล้วคุณภาพหรือสรรพคุณตัวยากลับไปส่งผล 100% อาจเป็นเพราะปัจจุบันมักเน้นที่ยอดขายมากกว่าผลประโยชน์ของผู้บริโภค อีกทั้งใส่สรรพคุณหรือคำชวนเชื่อที่จูงใจมากเกินจริง หากแท้จริงแล้วการใช้ยาสมุนไพรให้มีคุณสมบัติครบในการรักษาโรคนั้น ต้องตั้งเป็น ตำรับยาหาใช่การใช้สมุนไพรเดี่ยว โดยตำรับยาจะต้องประกอบไปด้วยยาหัวหน้า ยาช่วยฤทธิ์ ยาคุมฤทธิ์ ยากลบพิษ และยานำทาง อาทิ บุพโพ ยาแก้การอักเสบ อัฐิ ยาบำรุงกระดูก สัตถกะวาตะ ยาแก้ลม ยาบำรุงเส้น แก้กษัย สัตตะ ยาบำรุงหรือ ยาอายุวัฒนะ ยาประดง แก้ติดเชื้อ เป็นต้น
ในด้านการผลิตยาสมุนไพรและการรักษานั้นได้มีการประยุกต์ประบวนการทาง วิทยาศาสตร์ในการเตรียมยาสมุนไพรแต่ไม่ส่งผลต่อสรรพคุณของตัวยา โดยได้พัฒนารูปแบบและบรรจุภัณฑ์ของตัวยาให้ง่ายต่อการรับประทานและพกพา นอกจากนี้ยังได้ผสมผสานการรักษาด้วยการประยุกต์ใช้ศาสตร์แผนไทยและแผน ปัจจุบัน เช่น จะต้องรู้จักโรคและสามารถวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง จะต้องมุ่งเน้นรักษาที่โรคหรือการดักหน้าโรคมากกว่าการรักษาตามอาการ นอกจากนี้ยังได้นำเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการเฝ้าระวังและติดตามผล ตัวอย่างก็เช่น การนำผลการตรวจเลือด ตรวจน้ำตาล จากห้องแล็ป มาช่วยในการดูแลรักษาผู้ป่วย และเป็นการยืนยันผลการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจว่าการเข้ารับการ รักษาเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
ประวัติการทำงาน | History |
พ.ศ. 2525 ได้เข้าร่วมแผนงานก่อตั้งมูลนิธิโรงเรียนอายุรเวชแพทย์แผนไทยกับ ศ.นพ. อวย เกตุสิงห์ ( นายสุนทร วิลาวัลย์) ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ( นายพูลสวัสดิ์ มูลศาสตรสาทร ) ( นาวาโท นพ.เดชา สุขารมณ์ ) ของประชาชน การจัดทำสารานุกรมสมุนไพรแห่งชาติ วุฒิสภา
พ.ศ. 2550 – 1 อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาการพฤกษเภสัชภัณฑ์ในหัวข้อเรื่อง “ ปรัชญาการแพทย์แผนตะวันออกและการประยุกต์ใช่ร่วมกับการแพทย์แผนตะวันตก ” ( The Philosophy of Eastern Medicines and their Applications in Modern Medicine ) |
พ.ศ. 2551 - อาจารย์พิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในหลักสูตรปริญญาตรี ในโครงการพิเศษ 2 โครงการ หัวข้อการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและระบบสรีรวิทยาของการแพทย์แผนตะวันออกเพื่อการแพทย์ผสมผสาน : ระบบทางเดินอาหารส่วนบน และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและระบบสรีรวิทยาของการแพทย์แผนตะวันออกเพื่อการแพทย์ผสมผสาน : ทางเดินอาหารส่วนล่าง พ.ศ. 2552 - อาจารย์พิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในหลักสูตรปริญญาตรี โครงการพิเศษ หัวข้อ การวิเคราะห์องค์ประกอบ ในตำรับยาแผนไทยที่ใช้สำหรับโรคระบบทางเดินอาหาร - อนุกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วุฒิสภา - วิทยกรในการประชุมกลุ่มย่อยหัวข้อ “กรอบแนวคิดการสอนหลักสูตร การแพทย์แผนไทยเพื่อการบูรณาการ” ในการเสวนาครั้งที่ 2 ขอรัฐสภาเรื่อง “แนวทางการผสมผสานการแพทย์แผนไทยในระบบสาธารณสุขของประเทศ” จัดโดยคณะกรรมาธิการ การวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีฯ วุฒิสภา ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ระหว่าง 8.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมเรดิสัน กรุงเทพฯ - อนุกรรมาธิการการร่าง พ.ร.บ.ยาแผนไทยในคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯวุฒิสภา |
|