ไขมันพอกตับ

2022-10-26 11:29:54


 

 

โรคไขมันเกาะตับ สาเหตุของโรค และวิธีดูแลรักษา

 

 

   “ตับ” เป็นอวัยวะภายในร่างกายที่มีหน้าที่สำคัญหลายประการหน้าที่ต่างๆของตับจะต้องอาศัยการทำงานของเซลล์ตับเช่นการผลิตน้ำดีซึ่งถือเป็นหน้าที่หลัก การแปรสภาพสารพิษและยาที่อยู่ในร่างกายให้สามารถขับถ่ายออกไปได้ หรือที่เรียกกระบวนการนี้ว่าเมแทบอลิซึมของยา นอกจากนี้ตับยังทำหน้าที่ควบคุมกระบวนสังเคราะห์คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ของคนที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงพฤติกรรมการรับประทานที่ไม่เหมาะสมจึงเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดโรคตับและที่ตรวจพบได้มากเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่โรคไขมันเกาะตับ

 

ลำดับการเกิดโรคที่เกี่ยวกับ ตับ

 

ไขมันพอกตับ > ตับอักเสบ > ตับแข็ง  > มะเร็งตับ

 

โรคไขมันเกาะตับ คืออะไร

                โดยปกติไขมันในร่างกายของคนเราตามธรรมชาติจะเป็นแหล่งพลังงาน มีข้อดีก็คือเมื่ออดอาหารร่างกายก็จะนำพลังงานในส่วนนี้ออกมาใช้ทดแทน ซึ่งแหล่งเก็บพลังงานที่สำคัญในร่างกายแบ่งออกเป็น 2จุดใหญ่ๆได้แก่ บริเวณพุงหรือหน้าท้องและอีกจุดถือว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดได้แก่ตับ  เมื่อเกิดความผิดปกติของกลไกในการใช้พลังงานภายในร่างกายลดน้อยลง หรือร่างกายสร้างไขมันมากขึ้นจากการทานอาหาร ก็จะส่งผลให้มีไขมันไปสะสมในตับสูงขึ้นและกลายเป็นไขมันส่วนเกิน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับหรือไขมันเกาะตับ

 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันเกาะตับ

                1.เกิดจากพฤติกรรมการทานอาหาร เช่น เลือกทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ

                2.เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป

                3.เกิดจากผู้ที่มีภาวะเป็นโรคประจำตัวอื่นๆเช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวานโรคอ้วน

                4.เกิดจากการทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป

                5.เป็นผลข้างเคียงมาจากการทานยาบางชนิด เช่น ยาต้านไวรัส ยาปฏิชีวนะ ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง หรือยาพาราเซตามอลในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง

 

ลักษณะอาการและความรุนแรงของโรคไขมันเกาะตับ

                ความรุนแรงของโรค หากตรวจพบในช่วงที่ยังไม่มีอาการเมื่อได้รับการรักษา โรคไขมันเกาะตับหรือไขมันพอกตับมักกลับมาเป็นปกติได้แต่ถ้าตรวจพบเมื่อมีอาการที่รุนแรงแล้วการรักษาให้กลับมาเป็นปกติทำได้ยาก ลักษณะอาการของโรคไขมันพอกตับโดยทั่วไปไม่มีอาการทางกาย อาจมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้เล็กน้อย หรืออาจรู้สึกตึงบริเวณชายโครงด้านขวา การตรวจพบส่วนใหญ่เกิดจากการเจาะเลือดตรวจร่างกายประจำปี

 

วิธีป้องกันโรคไขมันเกาะตับ

             1.ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ

             2.หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีรสหวานต่อเนื่อง

             3.ลดน้ำหนัก หรือควบคุมน้ำหนักเพื่อไม่เกิดโรคอ้วน

             4.รักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุของโรค เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

             5.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ให้พลังงานต่ำ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนอย่างเพียงพอ

 

 

ทำไมการรักษาทางเลือกจึงน่าสนใจ  และเหมาะกับใคร

 

แนวทางการรักษาตามหลักแพทย์แผนปัจจุบันสำหรับโรคนี้ ยังไม่มีวิธีการรักษาโดยเฉพาะ ผู้ป่วยต้องดูแลรักษาสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และเฝ้าระวังอาการด้วยการตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ

 

แต่สำหรับการแพทย์แผนตะวันออกของสุรพรรณคลินิกนั้น การรักษาโดยสมุนไพรแบบตำรับให้ผลการรักษาที่ดีเยี่ยม ซึ่งแนวทางการรักษาของทางคลินิกคำนึงถึงการสร้างสมดุลให้กับเซลล์ที่เกิดใหม่ เป็นการรักษษแบบองค์รวมที่การทำให้เซลล์เกิดใหม่อยู่ในภาวะสมดุล แข็งแรง เป็นปรกติเหมือนก่อนที่จะเป็นโรค ซึ่งเป็นการรักษาที่ต้นเหตุและให้ผลการรักษาที่ยั่งยืน  อีกทั้งยังคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระหว่างการรักษาด้วยการรักษาที่ปลอดภัย ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่เป็นปรกติไม่ต้องทรมานหรือวิตกกังวลจากผลข้างเคียงของการรักษา อีกด้วย

 

 วิธีรักษาในแนวทางแพทย์แผนไทยของสุรพรรณคลินิก

 

แนวทางการรักษาของสุรพรรณคลินิก สำหรับโรคไขมันเกาะตับ จะทำการรักษษาโดยการตรวจชีพจร หรือปราณของผู้ป่วย ควบคู่ไปกับการอธิบายผลตรวจของแพทย์แผนปัจจุบันเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจลักษณะอาการของโรคได้อย่างชัดเจน การตรวจปราณจะทำให้ทราบถึงกำลังของระบบการทำงานภายในร่างกายว่า ส่วนไหนบกพร่อง มีปัญหา หรือสาเหตุของโรคเกิดจากความผิดปรกติของระบบร่างกายส่วนไหนเป็นสาเหตุสำคัญ หลังจากนั้นคุณหมอจะจ่ายยาสมุนไพรที่ตั้งตำรับถูกต้องครบถ้วน ให้กับคนไข้ (ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจก่อน  แพทย์จึงจะสามารถตั้งตำรับยาที่เหมาะสมกับอาการของแต่ละคนได้) โดยที่ผู้ป่วยจะสามารถฟื้นฟูเซลตับที่เสื่อมสภาพให้แข็งแรงเซลตับที่สร้างใหม่อยู่ในสภาวะที่เป็นปรกติ เพื่อไม่ให้รับกวนเซลล์ที่ยังดีอยู่แล้ว  อีกทั้งเข้าบำรุงเซลล์ดีที่ยังคงอยู่ เพื่อให้ร่างกายกลับเข้าสู่สภาวะสมดุล

 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเรื่องโรคไขมันเกาะตับได้ที่